วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555


เรื่อง                                       ประเพณีลอยกระทง
ประเภท                                 ด้านศิลปกรรม
ชื่อผู้สัมภาษณ์                      นางสาวกมลรัตน์  อุ่นจันที
ผู้ให้สมภาษณ์                      คุณพ่อทองมี  บุญพรม
สถานที่ให้สัมภาษณ์           บ้านคุณพ่อทองมี  บุญพรม
วันเวลาที่สัมภาษณ์            29  ตุลาคม 2554
1.วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีลอยกระทง
 งานประเพณีลอยกระทงกำลังจะมาถึงในวันที่ 16 นี้ (16 พ.ย.48)  จะมาเพิ่มเติมความสุขสนุกสนานให้กับผู้คนในสังคมลุ่มน้ำเป็นงานสุดท้ายของปี  เพราะหลังจากนั้นน้ำจะเริ่มลด และคนส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพทางกสิกรรมก็จะต้องกลับไปทุ่มเทแรงกาย แรงใจให้กับงานในเรือก สวน ไร่ นา ต่อไปเป็นวัฏจักรลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงอย่างจีน อินเดีย พม่า ก็มีประเพณีนี้  สำหรับเมืองไทยเราเท่าที่ปรากฏหลักฐานก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีสืบเนื่องมากรุงศรีอยุธยา  จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพียงแต่ว่าในแต่ละยุคสมัยแต่ละภูมิภาคอาจจะมีชื่อเรียก  หรือมีรูปแบบพิธีกรรมที่ต่างกันไปบ้าง ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของวัฒนธรรมประเพณีที่มีการสืบทอดมายาวนาน ย่อมมีการดัดแปลงแก้ไขไปตามสภาพสังคมขณะนั้นไม่มากก็น้อย สำหรับที่มาของประเพณีลอยกระทงบ้านเรานั้นสันนิษฐานกันว่าได้มาจากอินเดียโดยความเชื่อในลัทธิพราหมณ์และศาสนาพุทธ   แล้วคติความเชื่อนี้ยังมีความหลากหลาย สามารถแยกออกเป็นความเชื่อใหญ่ ๆ ได้ถึง 10 อย่างด้วยกัน ได้แก่  
          1. เป็นการลอยบาป
          2. เพื่อบูชาและขอขมาพระแม่คงคา
          3. เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท, เจดีย์จุฬามณีกับบูชาพระนารายณ์
          4. ลอยสิ่งของให้วิญญาณและเล่นสนุก
          5. ลอยเพื่อให้พบกันชาติหน้า
          6. ลอยเพื่อบูชาพระอุปคุต
          7. ส่งน้ำ อันเป็นพิธีของเขมรโบราณ
          8. บูชาท้าวผกาพรหม
          9. มาจากพิธีจองเปรียง
          10. รับเสด็จพระพุทธเจ้ากลับจากเทวโลก   
ประเพณีลอยกระทงจะเกิดขึ้นโดยความเชื่อใดก็ตาม สังคมย่อมได้รับประโยชน์มหาศาล  เพราะนอกจากผู้คนจะได้รับความสนุกสนานรื่นเริง  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะแล้ว  ยังจะก่อให้เกิดอุปนิสัย รู้คุณ -  รู้ค่าของสิ่งที่มีอุปการะต่อตน  ไม่ละเมิดทำลายให้เสียหายอีกด้วย   ในกรณีนี้ได้แก่  การบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองให้อยู่ในสภาพดี  ไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงไปทำให้เกิดความสกปรกหรือตื้นเขิน เมื่อจะลอยกระทงก็เลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายง่าย แม่น้ำลำคลองจะได้อยู่ยั่งยืนตลอดไป    
เหมือนจะให้คติกับผู้คนว่าถ้าต้องการจะเข้ากับสังคมที่อยู่อย่างกลมกลืน ก็จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมนึ้นให้ได้ เหมือนสภาพของน้ำกับสิ่งที่รองรับ คำดังเพยของเราแต่โบราณที่มีอยู่ว่า  “เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตามประเพณีลอยกระทรงมีคุณค่าหลายประการอย่างที่กล่าวมาแล้ว จึงสมควรที่ทุกคนจะได้รักษาประเพณีอันดีงามนี้ไว้อย่าให้ผันแปรเป็นอื่น จะได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตลอดไป
 เรียบเรียงจาก
     วารสารวัฒนธรรมไทย ต.ค.พ.ย.2544
     อยู่อย่างไทยของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ : 2528 – 2529
     วารสารเพื่อการเผยแพร่ของ กรป.กลาง
     บทความของนายเสนาะ ผดุงฉัตร : สายตรงศาสนา : 2547
เรียบเรียงจาก
     - วารสารเพื่อการเผยแพร่ของ กรป.กลาง เรื่องประเพณีลอยโขมดหรือลอยกระทง
     - วรรณคดีไทยของนายหรีด  เรืองฤทธิ์
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับนางนพมาศ กับกระทงรูปดอกบัว
             เมื่อปี 2545 , 2546 ได้มีนักวิชาการและสื่อสิ่งพิมพ์ที่ยอมรับกันทั่วไปว่ารอบรู้ในเรื่องของศิลปวัฒน-ธรรมอย่างดีได้เผยแพร่ข้อมูลใหม่อย่างที่สอดคล้องกันว่าหนังสือเรื่อง นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬา-ลักษณ์นี้เชื่อกันว่าเป็นวรรณกรรมยุคสุโขทัยอันซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวของนางนพมาศ นั้น จากการวิเคราะห์ของนักวิชาการชั้นแนวหน้ายุคหลังเชื่อว่าเป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง  โดยนอกจากจะมีเอกสารยืนยันต่าง ๆ กันแล้วยังอ้างถึงข้อความที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีถึงพระยาอนุมาราชชน เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้ด้วย  ดังนั้น การนำเสนอเรื่องราวของนางนพมาศและกระทงรูปดอกบัว ในเทศกาลลอยกระทง จึงควรระมัดระวัง  
เอกสารประกอบคำบรรยายของนายตรงใจ  หุตางกูร นักวิชาการสำนักวิจัยและสนับสนุนการวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในการแสดงทางวัฒนธรรมครั้งที่ 1 ณ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ : 15 พ.ย. 2545
อรัฏรยา  หุ่นเจริญ : สกู๊ป-สารคดี ประชาชื่น : มติชน : 7 พ.ย. 2546
พระราชพิธีลอยกระทง : จุลลดา  ภักดีภูมินทร์ : สกุลไทย
ข้อมูลจาก : บทความพิเศษ ประกอบรายการของสถานีวิทยุ อสมท.  เรื่อง "ประเพณีลอยกระทง"  ผลิตโดย ส่วนสนับสนุนการผลิตวิทยุ งานบริการการผลิต ฝ่ายออกอากาศวิทยุ กรุงเทพคำค้น : ประเพณี ลอยกระทง อสมท